Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

Mark Kent

British Ambassador to Argentina

9th December 2014

The Costs of Corruption – ต้นทุนของการทุจริต

UN_logo_colors

9 ธันวาคมเป็นวันต่อต้านการทุจริตโลก การทุจริตเป็นปัญหาระดับโลกที่ทำร้ายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การเมือง และกสังคมของประเทศ การทุจริตเพิ่มต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการทำธุรกิจและปิดกั้นโอกาสของบริษัทขนาดเล็กที่มีทรัพยากรน้อยกว่าจากการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การทุจริตส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของทุกคน การทุจริตส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพราะมันทำให้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีจำกัดหันเหจากกลุ่มคนที่จำเป็นมากที่สุดไปยังกลุ่มคนที่มีอำนาจทางการเงินและทางการเมืองที่มากกว่า เราไม่ควรอายที่จะพูดถึงการการทุจริตอย่างตรงไปตรงมา ผลการสำรวจความคิดเห็นเมื่อไม่นานมานี้โดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในประเทศไทย อ้างว่า “การทุจริตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความคิดผู้คนในประเทศไทยและการฉ้อโกงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้” เมื่อเร็วๆ นี้เราได้เห็นการตื่นตัวด้านการเมืองที่เพิ่มขึ้นเรื่องการทุจริตในประเทศไทยผ่านกระบวนการต่อต้านการทุจริตทั้งบนท้องถนนและการถกกันในสื่อสังคมออนไลน์ ข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตได้ยึดครองพื้นที่ในระบอบการเมืองไทยมากขึ้น รัฐบาลชุดปัจจุบันกล่าวว่าการต่อต้านการทุจริตเป็นวาระสำคัญ เราทุกคนอยากจะเห็นการดำเนินการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง การทุจริตไม่ได้เป็นเพียงอุปสรรคต่อการทำธุรกิจแต่ยังกีดขวางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ที่ 85 จากทั้งหมด 175 ประเทศใน Corruption Perception Index โดย Transparency International ปี พ.ศ. 2557  คะแนนของประเทศไทยด้านการทุจริตในภาครัฐอยู่ที่ 38 จาก 100 (โดยที่ 0 คะแนนหมายถึงการทุจริตมาก และ 100 คะแนนหมายถึงปราศจากการทุจริต) จากทั้งหมด 28 ประเทศในเอเซียแปซิฟิค ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 12 เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่ประเทศไทยปีนี้ได้เลื่อนลำดับขึ้นจากปีที่แล้วแต่ยังคงมีอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการ

การทุจริตเป็นปัญหาระดับโลกรวมถึงประเทศอังกฤษด้วย หลายคนมองว่าการทุจริตเกิดจากความล้มเหลวด้านศีลธรรม บางคนมองไกลไปกว่านั้นโดยมองว่าการทุจริตขึ้นอยู่กับปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ การทุจริตเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่ขึ้นกับตัวบุคคล และการขาดการเข้าถึงข้อมูล รวมไปถึงกระบวนการบริการสาธารณะที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน การต่อสู้กับการทุจริตในระบบบริการสาธารณะต้องอาศัยระบบราชการที่จะเปลี่ยนผ่านกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อนและขึ้นกับตัวบุคคล ไปยังระบบที่ใช้กฎเกณฑ์ที่ชัดเจนและง่ายต่อการเข้าใจ ความโปร่งใสและความเรียบง่ายเป็นศัตรูตัวสำคัญของการทุจริต อย่างไรก็ตามการทุจริตไม่ใช่งานของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว การเปลี่ยนแปลงต้องมาจากทุกภาคส่วนของสังคม ดิจิทัลเทคโนโลยีที่เร็วขึ้น ถูกลง และโปร่งใสมากขึ้น ทำให้ข้อมูลส่งผ่านอย่างมีอิสระมากขึ้นและเข้าถึงคนจำนวนมากขึ้น รวมทั้งยังถูกตรวจสอบอย่างละเอียดมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อสังคมออนไลน์ได้สร้างแรงกดดันและส่งเสริมให้มีการลงโทษอย่างจริงจังหากตรวจสอบว่ามีการกระทำความผิด

บทบาทของภาคเอกชนก็สำคัญเช่นกันในการที่จะตัดตอนการให้สินบน ถ้าบริษัทต่างๆ ปฎิเสธที่จะให้สินบนผลที่ได้ไม่เพียงแต่ลด “ต้นทุน” การทำธุรกิจในระยะยาวและยังสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม แต่ยังหวังว่าจะช่วยลดการรับสินบนในที่สุด ประเทศอังกฤษมีพระราชบัญญัติป้องกันการทุจริต (UK Bribery Act) ซึ่งเป็นหนึ่งในกฎหมายต่อต้านการทุจริตที่รุนแรงที่สุดในโลก สิ่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นตัวบ่งบอกถึงความมุ่งมั่นของสหราชอาณาจักรในการต่อสู้กับการทุจริตแต่ยังเป็นเครื่องรับรองว่าใครก็ตามที่ทำธุรกิจกับบริษัทอังกฤษจะรู้ว่าพวกเขากำลังธุรกิจกับบริษัทที่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานด้านจริยธรรมสูงสุด พวกเราที่สถานทูตอังกฤษกำลังดำเนินการเท่าที่สามารถจะทำได้เพื่อสนับสนุนผู้ที่ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เราได้สนับสนุนโครงการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทยและแนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต ขณะนี้หลายบริษัทได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะใช้กฎเกณฑ์ของแนวร่วมปฎิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต และพวกเรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทราบว่าประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Construction Sector Transparency Initiative (CoST) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กระบวนการการก่อสร้างภาครัฐมีความโปร่งใสมากขึ้น เราทำงานใกล้ชิดกับรัฐบาลไทย คณะกรรมการของ CoST และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการส่งเสริมศักยภาพที่จะสนับสนุนการนำ CoST มาปรับใช้กับประเทศไทย ผมขอจบด้วยสิ่งที่ผมพูดไว้ในตอนแรกว่าเราไม่ควรอายที่จะพูดถึงการการทุจริตอย่างตรงไปตรงมา ผมนึกถึงคำพูดอันน่าประทับใจของ ลอร์ด แอคตัน (Lord Acton) ที่ว่า “อำนาจฉ้อฉลฉันใด อำนาจเบ็ดเสร็จฉ้อฉลเบ็ดเสร็จฉันนั้น” การทุจริตเกี่ยวข้องอย่างมากกับระบบอุปถัมภ์และความไม่เท่าเที่ยมกันของโครงสร้างทางการเมือง ด้วยเหตุนี้การต่อสู้กับการทุจริตจึงต้องอาศัยพลังร่วมกันจากทุกภาคส่วนในสังคม และการตระหนักว่าการต่อสู้เรื่องการทุจริตเป็นความท้าทายของทุกคน ผู้ที่ทำผิดข้อหาการทุจริตจะต้องถูกลงโทษทางกฎหมายไม่ว่าคนเหล่านั้นจะเป็นใคร ตำแหน่งใด หรือมีฐานะทางสังคมเช่นไร สิ่งสำคัญคือจะต้องทำให้คนเห็นว่ามีความยุติธรรมในสังคม การทุจริตคือการใช้อำนาจในทางที่ผิด การกำจัดการทุจริตจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนถ้ามีหลักนิติธรรม มีระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่มีประสิทธิผล การมีส่วนร่วมจากสาธารณะและความรับผิดชอบ เราจะสนับสนุนประเทศไทยอย่างเต็มที่ในการดำเนินการเพื่อไปสู่ระบบนั้น

About Mark Kent

Mark Kent graduated in Law from the University of Oxford. He gained a Master’s degree in European Law and Economics from the Université Libre de Bruxelles in Belgium, and has…

Mark Kent graduated in Law from the University of Oxford. He gained a
Master’s degree in European Law and Economics from the Université Libre
de Bruxelles in Belgium, and has a postgraduate qualification in
Business Administration from the Open University. He has studied Thai at
Chiang Mai University, Khon Kaen University and Chulalongkorn
University.

Mark Kent joined the FCO in 1987 and has spent most of his career
working with the emerging powers of South East Asia and Latin America,
and with the European Union. He is a Fellow of the Institute of
Leadership and Management and has language qualifications in Thai,
Vietnamese, Spanish, Dutch, French and Portuguese.

Mark Kent took up his appointment in August 2012.