Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

Mark Kent

British Ambassador to Argentina

Read biography

27th November 2015

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

เส้นทางสู่สนธิสัญญาฉบับใหม่ด้านภูมิอากาศของโลก

ในวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้จะมีการเจรจาเรื่องภูมิอากาศของสหประชาชาติรอบต่อไปที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าจะมีการเจรจารอบต่างๆในแต่ละปีอยู่แล้ว แต่การประชุมในปีนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนรางวัลที่เราจะได้รับก็คือ สนธิสัญญาด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศฉบับใหม่ ซึ่งจะมีข้อผูกพันตามกฎหมาย เราจะบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่ และสนธิสัญญาฉบับนี้จะมีความท้าทายอย่างไร สิ่งเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญต่อพวกเราทุกคน การประชุมนี้คืออะไร สมาชิกจำนวน 196 ประเทศภายใต้สมัชชาภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ได้แสดงเจตจำนงร่วมกันว่า ควรมีการตกลงเรื่องสนธิสัญญาฉบับใหม่ที่กรุงปารีส ซึ่งจะต้องมีข้อผูกพันทางกฎหมาย และสามารถนำไปใช้ได้กับทุกประเทศ เป้าหมายสูงสุดของข้อตกลงนี้คือ การควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้เพิ่มสูงกว่าระดับ 2 องศาเซลเซียส ในช่วงที่ผ่านมา มีประเทศสมาชิกจำนวน 163 ประเทศได้ประกาศเจตจำนงแล้วว่า จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลง ผมดีใจที่ประเทศไทยได้ยื่นแสดงเจตจำนงไว้แล้วเมื่อเดือนก่อน โดยกำหนดว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนลงให้ได้ถึง 20% นี่คือการเริ่มต้นครั้งสำคัญ สหราชอาณาจักรและประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปก็จะหาแนวทางที่จะช่วยเหลือประเทศไทยเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ให้ได้ด้วย ทำไมสนธิสัญญาฉบับนี้จึงมีความสำคัญ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเป็นภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุดอย่างหนึ่งที่โลกเราเผชิญอยู่ นี่ไม่ใช่เพียงภัยต่อสิ่งแวดล้อม แต่ยังเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง การพัฒนา และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความเปราะบางเป็นอย่างยิ่งต่อผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ผลการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ของกรมอุตุนิยมของอังกฤษระบุว่า ภายในปี พ.ศ. 2643 (ค.ศ. 2100) นี้หากไม่มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น ภัยแล้งจะมีช่วงเวลาต่อเนื่องยาวขึ้นอีก 5% อุทกภัยในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำชั้นในจะเพิ่มขึ้นอีก 77% น้ำใช้เพื่อการเพาะปลูกจะลดลงถึง […]

Read more on เส้นทางสู่สนธิสัญญาฉบับใหม่ด้านภูมิอากาศของโลก | Reply

15th September 2015

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

วันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันประชาธิปไตยสากลของสหประชาชาติและบรรดาชาติสมาชิก

หลังการรัฐประหารในประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว อังกฤษและสมาชิกอื่น ๆ ในประชาคมนานาชาติ รวมทั้งเลขาธิการสหประชาชาติ ได้เรียกร้องให้มีการคืนประชาธิปไตยโดยเร็ว แต่ถึงบัดนี้ ประชาธิปไตยกลับดูห่างไกลออกไปกว่าเดิม ประชาธิปไตยมีข้อดีอย่างไร เราไม่ได้สนับสนุนประชาธิปไตยเพราะต้องการบังคับใช้ระบบการเมืองแบบตะวันตกกับใคร แต่เราสนับสนุนประชาธิปไตยเพราะระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงนำมาซึ่งประโยชน์มากมายต่างหาก ในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนล้วนมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกันในการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง หรือแม้กระทั่งลงสมัครรับเลือกตั้ง ดังนั้น ประชาธิปไตยจึงมอบอำนาจในระดับหนึ่งให้ประชาชนในการตัดสินใจต่าง ๆ ที่มีผลต่อชีวิตของพวกเขา หากประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือและยุติธรรม ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนถ่ายอำนาจอย่างสันติและเป็นไปตามกำหนดเวลา ก็มีโอกาสน้อยลงที่พวกเขาจะหันไปใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งหรือเพื่อแสดงความคิดเห็น ที่ใดที่ค่านิยมประชาธิปไตยได้รับการเชิดชู ที่นั่นย่อมมีความเจริญรุ่งเรือง และความเสี่ยงต่อความไม่มั่นคงต่าง ๆ ย่อมมีน้อยที่สุด ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิ์เลือกผู้นำได้เอง ดังนั้น รัฐบาลประชาธิปไตยจึงต้องตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนหากอยากได้รับเลือกตั้งเข้ามาอีกครั้ง ในประเทศที่ไร้ประชาธิปไตย เป็นการง่ายที่รัฐบาลจะให้ความสนใจกับประโยชน์ส่วนตนมากกว่าจะบริหารประเทศเพื่อประโยชน์ของพลเมือง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าประชาธิปไตยทำให้เกิดการแบ่งสรรปันส่วนทรัพยากรและการเข้าถึงอำนาจอย่างเป็นธรรมมากกว่า รัฐบาลประชาธิปไตยถูกกำหนดให้ต้องมีความรับผิดชอบ เจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตน เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสในการคอร์รัปชันจึงลดลง นอกจากนี้ ประชาธิปไตยยังกำหนดให้รัฐบาลต้องอยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ซึ่งหมายความว่ากฎหมายจะมีผลต่อทุกคนเท่าเทียมกัน ไม่เว้นแม้แต่ต่อรัฐบาลเอง หลักนิติธรรมเป็นสิ่งสำคัญเพราะขณะที่หลักนี้เคารพความต้องการของเสียงข้างมาก แต่ก็ยังปกป้องสิทธิขั้นพื้นฐานของปัจเจกบุคคลและกลุ่มเสียงข้างน้อยด้วย ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่เพียงการมีรัฐธรรมนูญที่เหมาะสม เรื่องนี้ชาวอังกฤษเข้าใจดี เพราะเราเองไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยซ้ำ สิ่งที่เรามีคือรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้ประมวลไว้และไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร แต่ประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับผู้มีส่วนร่วมที่สำคัญ ๆ มากกว่า ยกตัวอย่างเช่นนักการเมือง หลายคนเอาแต่โทษนักการเมืองและพรรคการเมืองว่าเป็นต้นตอของปัญหาทั้งหลายในประเทศ นักการเมืองนั้นมีทั้งดีและไม่ดี เช่นเดียวกับที่ในสังคมย่อมมีทั้งคนดีและไม่ดี แต่พรรคการเมืองมีบทบาทสำคัญในระบอบประชาธิปไตย พรรคเป็นผู้นำประเด็นต่าง […]

Read more on วันที่ 15 กันยายนของทุกปีเป็นวันประชาธิปไตยสากลของสหประชาชาติและบรรดาชาติสมาชิก | Reply

12th March 2015

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

Annual Human Rights Report for 2014 รายการสิทธิมนุษยชนประจำปี 2557

วันนี้อังกฤษได้เปิดตัวรายงานสิทธิมนุษยชนประจำปี 2557 (Annual Human Rights Report for 2014) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความตระหนักถึงบทบาทของอังกฤษในการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนทั่วโลก พร้อมทั้งกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินการเพิ่มขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศให้สำเร็จ เหตุใดอังกฤษจึงให้ความสำคัญกับสิทธิมนุษยชนอย่างมากเช่นนี้ คำตอบง่าย ๆ ก็คือ เพราะการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาสังคมอันเสรี เท่าเทียม และเจริญรุ่งเรือง ประเทศใดที่หวังจะไปสู่จุดนั้น จำเป็นต้องเปิดช่องให้มีการตรวจสอบและซักฟอกผู้มีอำนาจได้ นอกจากนี้ยังควรมีพื้นที่ให้กับความคิดเห็นในทางตรงกันข้ามเกี่ยวกับระบบการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม หรืออันที่จริงก็คือในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับสาธารณะ สิ่งที่ขาดไม่ได้ในกระบวนการนี้คือการให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม การที่มีเพียงฝ่ายเดียวหรือกลุ่มเดียวครอบงำการสนทนาระดับชาติย่อมไม่ใช่เรื่องดี และนี่คือเหตุผลที่เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ซึ่งเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง หากปราศจากสิทธิเหล่านี้แล้ว ย่อมไม่สามารถทำให้รัฐบาลมีความรับผิดชอบได้เพียงพอ และประเทศก็อาจดำดิ่งลงไปสู่การเล่นพรรคเล่นพวกและฉ้อราษฎร์บังหลวงได้อย่างรวดเร็ว แนวคิดของหลักนิติธรรม (ความเข้าใจว่าอำนาจไม่ได้มีไว้ให้ใช้ตามใจชอบโดยไร้การควบคุม ว่ารัฐต้องสามารถตอบคำถามของประชาชนได้ และว่ากระบวนการที่ชอบธรรมเป็นสิ่งจำเป็น) เป็นแนวคิดที่ได้รับบัญญัติไว้ในการลงนามกฎบัตรแมกนาคาร์ตาซึ่งมีอายุครบรอบ 800 ปีในปีนี้ กฎบัตรโบราณซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างกษัตริย์อังกฤษสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 13 กับเหล่าขุนนางผู้ท้าทายพระองค์ฉบับนี้ยังคงมีสาระเข้ากับยุคสมัยในปัจจุบัน สำหรับหลักการของการแข่งขันทางการเมืองนั้น หลักนิติธรรมและเสรีภาพการแสดงความคิดเห็นยังคงเป็นรากฐานของสังคมที่เจริญและเที่ยงธรรม รวมทั้งเศรษฐกิจฐานความรู้มูลค่าสูงในปัจจุบันอีกด้วย ประเทศที่มีความมั่นใจย่อมมองความคิดเห็นอันหลากหลายเป็นอิทธิพลในเชิงบวก แนวคิดและข้อถกเถียงดี ๆ ควรชนะแนวคิดที่ไม่ดีเสมอ และการแลกเปลี่ยนนี้จะเกิดขึ้นได้ก็เฉพาะในสังคมที่มีเสรีภาพอย่างแท้จริงซึ่งรับฟังเสียงจากทุกฝ่าย การนำเสนอทางเลือกระหว่างความขัดแย้งรุนแรง กับการลิดรอนเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น ว่าต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เป็นตัวเลือกจอมปลอมที่ไม่น่าก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม แต่เรายังมีทางเลือกสายกลาง […]

Read more on Annual Human Rights Report for 2014 รายการสิทธิมนุษยชนประจำปี 2557 | Reply

6th March 2015

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

British Ambassador's speech on CoST – สุนทรพจน์ในงานโครงการเพื่อความโปร่งใสในภาคการก่อสร้าง

ผมมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยกำลังเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ Construction Sector Transparency Initiative (CoST) หรือ โครงการเพื่อความโปร่งใสในภาคการก่อสร้าง  ในการนี้ไทยได้ให้คำมั่นที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานสากลของ CoST ด้วยการวางระบบเปิดเผยข้อมูล เพื่อส่งเสริมความโปร่งใส เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐ ระบบเช่นนี้จะสร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ ช่วยให้การใช้จ่ายเป็นไปอย่างคุ้มค่า และแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนของไทยในการจัดการกับความเสี่ยงของคอร์รัปชั่น  นับเป็นก้าวย่างที่กล้าหาญและน่ายินดีอย่างยิ่ง CoST เป็นโครงการที่ริเริ่มเมื่อปี 2551 โดยการสนับสนุนจากรัฐบาลอังกฤษและธนาคารโลก  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกลไกและมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างภาครัฐในประเทศต่าง ๆ  CoST จะช่วยป้องกันการคอร์รัปชั่นในโครงการก่อสร้าง โดยวางระบบให้มีการรวบรวม วิเคราะห์ และแปลข้อมูล เพื่อเปิดเผยให้สาธารณชนเข้าใจและตรวจสอบได้ง่าย  ซึ่งจะทำให้การใช้จ่ายเงินภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด การที่ประเทศไทยตัดสินใจเข้าร่วมกับ CoST กระตุ้นให้เราทุกคนคิดถึงวิธีจัดการกับคอร์รัปชั่น การต่อสู้กับคอร์รัปชั่นในทุกประเทศล้วนเป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง รัฐบาล ภาคเอกชน ข้าราชการ กองทัพ หรือประชาชนทั่วไป  การต่อสู้คอร์รัปชั่นเป็นหน้าที่พลเมือง ไม่ใช่จุดยืนทางการเมือง สังคมที่จัดการกับคอร์รัปชั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็มีความเป็นไปได้มากกว่า ที่ประชาชนจะได้รับประโยชน์จากโอกาสที่เท่าเทียม เป็นอิสระจากอิทธิพลที่ไม่ชอบธรรม หรือระบบอุปถัมภ์ที่ไม่เหมาะสม โอกาสที่เท่าเทียมทำให้ประชาชนใช้ความสามารถได้อย่างเต็มที่ เลือกสิ่งที่ดีกว่าเพื่อตนเองและครอบครัว ซึ่งจะนำไปสู่ชีวิตที่เป็นประโยชน์และมีความหมายมากขึ้น มีความสงบสุขมากขึ้น และเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น คอร์รัปชั่นมักเกิดขึ้นในระบบราชการ และการบริหารงานที่มีความซับซ้อน ขาดการตรวจสอบ […]

Read more on British Ambassador's speech on CoST – สุนทรพจน์ในงานโครงการเพื่อความโปร่งใสในภาคการก่อสร้าง | Reply

24th December 2014

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

Remembering ย้อนมองปี 2557

เมื่อใกล้สิ้นปีเรามักจะมองย้อนกลับไปในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเต็มไปด้วยความคิดและความรู้สึกต่างๆปะปนกัน สำหรับผมแล้วเป็นสิ่งที่ดีที่เราจะมองย้อนกลับไปในปี 2557 ที่กำลังจะผ่านพ้นไป ในวันศุกร์ที่ 26 ธันวาคมนี้ ผมจะเดินทางไปยังจังหวัดพังงาเพื่อร่วมงานรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิในมหาสมุทรอินเดียเมื่อปี 2547 ซึ่งจัดขึ้นโดยรัฐบาลไทย ครบรอบ 10 ปีนับตั้งแต่เหตุการณ์ซึ่งมีผู้เสียชีวิตเกือบ 3 แสนคน โดยเป็นชาวอังกฤษ 151 คน (130 คนที่เสียชีวิตในประเทศไทย) ในวันดังกล่าวจะมีการวางหรีดที่อนุสรณ์รำลึกผู้เสียชีวิต ณ พิพิธภัณฑ์สถานประวัติศาสตร์ธรรมชาติในกรุงลอนดอน นับว่าเป็นวันที่เศร้าโศกอย่างยิ่ง มีคนจำนวนมากมายบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ของเขาให้ผมได้รับฟัง ซึ่งเราขอร่วมรำลึกถึงผู้สูญเสียในเหตุโศกนาฏกรรมครั้งนั้น ปีนี้ยังเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีสงครามโลกครั้งที่ 1  ซึ่งในประเทศไทยนั้นได้จัดพิธีรำลึกขึ้นในเดือนสิงหาคมและพฤศจิกายนที่ผ่านมา  นอกจากนี้ทั่วโลกยังได้จัดฟุตบอลเพื่อรำลึก “การพักรบวันคริสต์มาส” ที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2457  ซึ่งทางสถานทูตอังกฤษได้จัดแข่งขันฟุตบอลขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีทีมจากประเทศอังกฤษ เยอรมันและไทยเข้าร่วมแข่งขัน  นอกจากนี้ในอีกสี่ปีข้างหน้าจะมีงานรำลึกทั้งในอังกฤษและประเทศอื่นๆ ผมขอขอบคุณสมาคมทหารผ่านศึกอังกฤษในประเทศไทยที่ได้ทำงานอย่างเต็มที่  นอกจากจะจัดงานต่างๆ มากมาย ทั้งงานวันรำลึกทหารที่เสียชีวิตในสงครามเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนที่ผ่านมาที่จังหวัดกาญจนบุรี  ทางสมาคมยังได้ดูแลสวัสดิการให้กับทหารผ่านศึกอังกฤษในประเทศไทยด้วย   ทางสถานทูตได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทางสมาคม คุณเบิร์ต เอลสัน กงสุลกิตติมศักดิ์ประจำพัทยาซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการสมาคมด้วย  หากท่านต้องการติดต่อกับสมาคมเพื่อร่วมงานต่างๆ […]

Read more on Remembering ย้อนมองปี 2557 | Reply

12th December 2014

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

Real rights for real people สิทธิที่แท้จริงสำหรับประชาชนที่แท้จริง

สัปดาห์นี้ผมได้เดินทางไปยังจังหวัดขอนแก่นเพื่อร่วมงาน “เทศกาลประจำปีสิทธิมนุษยชนอีสาน ครั้งที่ 7” ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมกันจัดขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม เพื่อร่วมฉลองวันสิทธิมนุษยชนสากล งานนี้มีผู้เข้าร่วมเป็นทั้งนักเคลื่อนไหวในชุมชนท้องถิ่นมากหน้าหลายตา ตลอดจนเพื่อน ๆ นักการทูตจากสถานทูตแคนาดา นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา สวีเดน และสหภาพยุโรป ปีนี้ไม่ใช่ปีที่ดีสำหรับสิทธิมนุษย ชนในประเทศไทย มีการจำกัดเสรีภาพอย่างมากในการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม และสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอื่น ๆ ตั้งแต่เริ่มประกาศใช้กฎอัยการศึกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา  การจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ (รวมถึงเซ็นเซอร์ตัวเอง) ของสื่อมวลชน องค์กรอิสระ และสถาบันการศึกษา  ผลกระทบอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นคือเกิดการลดทอนคุณภาพของการถกอภิปรายในระดับประเทศเกี่ยวกับการปฏิรูปซึ่งตอนนี้รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์กำลังดำเนินการอยู่   ท่ามกลางสถานการณ์เช่นนี้ ผมว่าเป็นเรื่องดีที่ได้ไปภาคอีสานและฟังความคิดเห็นของนักเคลื่อนไหวที่นั่น ซึ่งมีมุมมองหลายอย่างที่ไม่ค่อยจะได้รับฟังในกรุงเทพฯ   สำหรับตัวผมเองก็ดีใจที่ได้กลับไปเยี่ยมมหาวิทยาลัยขอนแก่นอีกครั้ง เพราะผมเคยเรียนภาษาไทยที่นั่นอยู่หลายเดือน ผมโตมาในหมู่บ้านเล็ก ๆ  จึงรู้เกี่ยวกับความยากลำบากที่ชุมชนห่างไกลต้องเผชิญ และรู้ว่าพวกเขาถูกมองข้ามและถูกมองเหมือนเป็นเด็ก ๆ ที่ต้องคอยปกป้องอย่างไร   ผมเชื่อมั่นในเรื่องโอกาสและเสียงที่เท่าเทียมกันของประชาชนทุกคน รวมถึงการได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันตามกฎหมาย  ลอนดอนไม่ใช่ประเทศอังกฤษ และกรุงเทพฯ ก็ไม่ใช่ประเทศไทย  ผมประทับใจที่ได้เห็นผู้สูงอายุลุกขึ้นเล่าเรื่องความยากลำบากของตัวเอง และเรื่องความตั้งใจที่จะทำให้อะไร ๆ ดีขึ้น  พวกเขาอาจจะขาดโอกาสการศึกษาในโรงเรียน แต่พวกเขาไม่โง่  พวกเขาต้องการให้ลูกหลานและชุมชนมีชีวิตที่ดีขึ้น  และพวกเขาก็มีสิทธิ์ที่จะต้องการแบบนั้น ในงานนี้ผมได้พูดเรื่องความสำคัญของเสรีภาพในการแสดงออกที่มีต่อวัฒนธรรมประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง  เสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงเสรีภาพของสื่อมวลชนและโซเชียลมีเดีย เป็นสิทธิสำคัญที่จะทำให้ประชาชนได้รับข่าวสารอย่างเพียงพอ และสามารถลงคะแนนเสียงตามที่ตนเองสนใจได้  หากไร้ซึ่งสิทธิเหล่านี้ […]

Read more on Real rights for real people สิทธิที่แท้จริงสำหรับประชาชนที่แท้จริง | Reply

9th December 2014

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

The Costs of Corruption – ต้นทุนของการทุจริต

9 ธันวาคมเป็นวันต่อต้านการทุจริตโลก การทุจริตเป็นปัญหาระดับโลกที่ทำร้ายการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ การเมือง และกสังคมของประเทศ การทุจริตเพิ่มต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการทำธุรกิจและปิดกั้นโอกาสของบริษัทขนาดเล็กที่มีทรัพยากรน้อยกว่าจากการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การทุจริตส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของทุกคน การทุจริตส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพราะมันทำให้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีจำกัดหันเหจากกลุ่มคนที่จำเป็นมากที่สุดไปยังกลุ่มคนที่มีอำนาจทางการเงินและทางการเมืองที่มากกว่า เราไม่ควรอายที่จะพูดถึงการการทุจริตอย่างตรงไปตรงมา ผลการสำรวจความคิดเห็นเมื่อไม่นานมานี้โดยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในประเทศไทย อ้างว่า “การทุจริตได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความคิดผู้คนในประเทศไทยและการฉ้อโกงเป็นสิ่งที่ยอมรับได้” เมื่อเร็วๆ นี้เราได้เห็นการตื่นตัวด้านการเมืองที่เพิ่มขึ้นเรื่องการทุจริตในประเทศไทยผ่านกระบวนการต่อต้านการทุจริตทั้งบนท้องถนนและการถกกันในสื่อสังคมออนไลน์ ข้อกล่าวหาเรื่องการทุจริตได้ยึดครองพื้นที่ในระบอบการเมืองไทยมากขึ้น รัฐบาลชุดปัจจุบันกล่าวว่าการต่อต้านการทุจริตเป็นวาระสำคัญ เราทุกคนอยากจะเห็นการดำเนินการต่อต้านการทุจริตอย่างจริงจัง การทุจริตไม่ได้เป็นเพียงอุปสรรคต่อการทำธุรกิจแต่ยังกีดขวางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ ประเทศไทยถูกจัดอันดับอยู่ที่ 85 จากทั้งหมด 175 ประเทศใน Corruption Perception Index โดย Transparency International ปี พ.ศ. 2557  คะแนนของประเทศไทยด้านการทุจริตในภาครัฐอยู่ที่ 38 จาก 100 (โดยที่ 0 คะแนนหมายถึงการทุจริตมาก และ 100 คะแนนหมายถึงปราศจากการทุจริต) จากทั้งหมด 28 ประเทศในเอเซียแปซิฟิค ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 12 เป็นเรื่องที่น่าดีใจที่ประเทศไทยปีนี้ได้เลื่อนลำดับขึ้นจากปีที่แล้วแต่ยังคงมีอีกหลายอย่างที่ต้องดำเนินการ การทุจริตเป็นปัญหาระดับโลกรวมถึงประเทศอังกฤษด้วย หลายคนมองว่าการทุจริตเกิดจากความล้มเหลวด้านศีลธรรม บางคนมองไกลไปกว่านั้นโดยมองว่าการทุจริตขึ้นอยู่กับปัจจัยเกื้อหนุนต่างๆ การทุจริตเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่ขึ้นกับตัวบุคคล และการขาดการเข้าถึงข้อมูล รวมไปถึงกระบวนการบริการสาธารณะที่ซับซ้อนและใช้เวลานาน การต่อสู้กับการทุจริตในระบบบริการสาธารณะต้องอาศัยระบบราชการที่จะเปลี่ยนผ่านกระบวนการตัดสินใจที่ซับซ้อนและขึ้นกับตัวบุคคล […]

Read more on The Costs of Corruption – ต้นทุนของการทุจริต | Reply

14th November 2014

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

Thailand's Choice ทางเลือกของประเทศไทย

ความวุ่นวายทางการเมืองในประเทศไทยช่วงครึ่งปีแรกของปี 2557 มีผลต่อเศรษฐกิจ แต่ทันทีภายหลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ผมได้พบกับนักธุรกิจไทยและอังกฤษซึ่งมองในแง่ดีว่าความเชื่อมั่นทางธุรกิจน่าจะกลับมาสู่ประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจเริ่มหลุดพ้นจากภาวะตกต่ำ อย่างไรก็ตามนักธุรกิจอังกฤษที่ทำธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นเวลานานคาดการณ์ว่าน่าจะมีการเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่ไม่เอื้อต่อการลงทุนจากต่างชาติอาจจะถูกนำขึ้นมาพิจารณาอีกครั้ง หลังจากถูกระงับไว้ในปีพ.ศ. 2550 ดูเหมือนว่านักธุรกิจจะคาดการณ์ถูกในทั้งสองประเด็น ความเชื่อมั่นทางธุรกิจได้กลับมาแล้ว แม้ว่าเศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวเร็วเท่าที่ต้องการก็ตาม และขณะนี้ได้มีการเสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ทั้งสองสิ่งนี้มีความเชื่อมโยงกัน ถ้าข้อเสนอเรื่องการแก้ไขนี้ผ่าน โอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจของไทยก็จะมีความเป็นไปได้น้อยลง สำหรับคนที่ไม่ทราบเรื่องนี้มากนัก พระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวกำหนดข้อจำกัดเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคบริการ ซึ่งจำกัดการถือหุ้นของต่างชาติอยู่ที่ร้อยละ 49  ผลก็คือ นักลงทุนจากต่างประเทศจะเลือกที่จะถือหุ้นบุริมสิทธิ์เพื่อควบคุมธุรกิจและเทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูง โครงการจัดฝึกอบรมต่างๆ และความมั่นคงของแบรนด์ มีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงนิยามความหมายของธุรกิจต่างด้าวภายใต้เงื่อนไขของพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดการป้องกันการถือหุ้นบุริมสิทธิ์ของนักลงทุนต่างประเทศที่ต้องการควบคุมธุรกิจของตนเอง คล้ายกับเมื่อปีพ.ศ.2550 ที่ทำให้เกิดความกังวลในหมู่นักลงทุนต่างประเทศในประเทศไทย หอการค้าต่างประเทศ และคนไทยหลายคนซึ่งเชื่อในเสรีภาพทางเศรษฐกิจ นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมและบรรดานักการทูตจากสถานทูตอื่นๆเกิดความกังวล ซึ่งความวิตกของเรานั้นรวมไปถึงความเสี่ยงเนื่องจากกระบวนการการแก้ไขอาจไม่ได้ตระหนักถึงความกังวลของกลุ่มนักลงทุนด้วย ผมหวังว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น แต่สิ่งที่ผมไม่ค่อยเข้าใจคือ เหตุใดถึงเกิดข้อเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงตอนนี้ ประเทศไทยมุ่งมั่นจะเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และก็ควรจะเป็นเช่นนั้น รัฐมนตรีต่างๆของไทยกล่าวอยู่ทุกวันถึงแผนการลงทุนในด้านสาธารณูปโภค การศึกษา เศรษฐกิจแบบดิจิทัล การวิจัยและการพัฒนา เขาพูดถึงการทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่ายกย่อง และบริษัทอังกฤษมีความสามารถหลากหลายที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วน เช่น เทคโนโลยี ประสบการณ์การจัดการโครงการที่แข็งแกร่ง และความสร้างสรรค์ชั้นนำของโลก เทคโนโลยี ความรู้ นวัตกรรม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่ประเทศไทยแสวงหา […]

Read more on Thailand's Choice ทางเลือกของประเทศไทย | Reply

10th October 2014

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

Media should be responsible as well as free – สื่อมวลชนควรมีความรับผิดชอบมากเท่าๆ กับเสรีภาพ

หลายครั้งผมได้แสดงความคิดเห็นว่า สื่อมวลชนที่สามารถทำงานได้อย่างอิสระมีบทบาทสำคัญมากในสังคม  เพราะจะช่วยทำให้เกิดการเผยแพร่ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี ให้ความรู้แก่คนที่เสพข่าวสาร ทำให้ผู้มีอำนาจแสดงความรับผิดชอบ ในกรณีตัวอย่างเช่น ข่าวอื้อฉาวเรื่องการทุจริต เป็นต้น  อย่างไรก็ดี ในแต่ละสังคมควรมีความสมดุลระหว่างเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คนกับสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนตัวซึ่งควรได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม   ดังนั้นสื่อมวลชนที่มีความรับผิดชอบจะต้องปฏิบัติตนอย่างมืออาชีพและมีจรรยาบรรณในการรายงานข่าวตามความเป็นจริง นี่คือประเด็นที่ทุกประเทศต้องเผชิญ  ในสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2555  ลอร์ดเลเวอสัน ได้เรียกร้องในเรื่องจรรยาบรรณ หลักปฏิบัติและวัฒนธรรมของสื่อมวลชน  ซึ่งได้ลงรายละเอียดในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนกับสาธารณชน  การดักฟังโทรศัพท์ และพฤติกรรมที่เข้าข่ายผิดกฎหมายอื่นๆ  รายงานของลอร์ดเลเวอสันยังได้วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชนและตำรวจที่อยู่ในความสนใจของคนทั่วไป  นอกจากนี้ยังพูดถึงความสัมพันธ์ของสื่อมวลชนกับนักการเมือง และมีข้อเสนอแนะเรื่องนโยบายและข้อบังคับที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อสนับสนุนเสรีภาพและความซื่อตรงของสื่อ  ในขณะเดียวกันยังดำรงไว้ซึ่งมาตรฐานจริยธรรมขั้นสูงสุด  ท่านสามารถอ่านรายงานฉบับเต็ม (ภาษาอังกฤษ)ได้ที่นี่ ผมเกรงว่าบางประเด็นเหล่านี้ก็ปรากฎในประเทศไทยเช่นกัน อย่างในกรณีฆาตกรรมสะเทือนขวัญที่เกาะเต่าของฮันนา วิทเธอริดจ์ และเดวิด มิลเลอร์   ผมและท่านทูตจากประเทศอื่นๆ ได้เคยขอร้องสื่อมวลชนอยู่หลายครั้งให้เคารพความเป็นส่วนตัวของนักท่องเที่ยวและครอบครัวของพวกเขา  เป็นเรื่องน่าเศร้าอย่างยิ่งที่จะต้องเห็นรูปหนังสือเดินทางของผู้ที่เสียชีวิตผ่านทางสื่อหรือโซเชียลมีเดีย  ในหนังสือเดินทางนั้นมีข้อมูลส่วนตัวและไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์อันใดกับการรายงานข่าว  ข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อหรือผู้เสียหายไม่สมควรถูกส่งต่อให้สื่อหรือทำการเผยแพร่ใดๆ ซึ่งสร้างความสะเทือนใจแก่ครอบครัวของผู้เสียหายหากต้องรับรู้ข้อมูลเหล่านี้ก่อนที่จะได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่   ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของรัฐควรรับผิดชอบไม่ให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น  และไม่มีใครได้รับประโยชน์อันใดจากการเห็นภาพน่ากลัวและสะเทือนใจ  สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตในประเทศไทยเศร้าโศกและสะเทือนใจเป็นอย่างมาก  ในเวลาอันเศร้าโศกเช่นนี้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตควรจะได้รับความเป็นส่วน มิใช่ตกเป็นเป้าคุกคามจากสื่อ   ในขณะเดียวกัน สื่อมวลชนเองไม่ควรนำเสนอข่าวในทำนองด่วนตัดสินก่อนการดำเนินคดีอย่างเป็นธรรมต่อผู้ถูกกล่าวหา  นี่คือประเด็นในเรื่องของจรรยาบรรณและการเคารพผู้อื่น  สิ่งเหล่านี้จะทำให้สื่อมวลชนในประเทศไทยเข้มแข็งขึ้น และยังรักษาชื่อเสียงของประเทศไทยในฐานะประเทศที่ต้อนรับขับสู้นักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างเป็นมิตร  ทางสถานทูตจะพูดคุยประเด็นเหล่านี้กับสมาคมสื่อต่างๆ ของไทยต่อไป เราจะยินดีเป็นอย่างยิ่งหากสมาคมเหล่านั้นเห็นพ้องกับแนวทางการปฏิบัติเหล่านี้

Read more on Media should be responsible as well as free – สื่อมวลชนควรมีความรับผิดชอบมากเท่าๆ กับเสรีภาพ | Reply

12th September 2014

Mark Kent, the British Ambassador to Thailand

by Mark Kent

British Ambassador to Argentina

Global Joint Action Day on Climate Change – ความร่วมมือระดับโลกด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

สหราชอาณาจักรร่วมกับเยอรมนี ฝรั่งเศส และสหภาพยุโรป ได้ร่วมกันจัดงานวันความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในประเทศไทย เมื่อวันที่ 9 กันยายน ซึ่งในวันนั้นมีการจัดงานพร้อมกันทั่วโลก เพื่อเน้นย้ำว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะลงมือแก้ปัญหาเรื่องนี้กัน ในประเทศไทย สถานทูตอังกฤษสถานทูตเยอรมนี และสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยจัดงานเพื่อย้ำว่าเราต้องลงมือต่อสู้กับการเปลียนแปลงภูมิอากาศ และมันจะมีผลร้ายแรงมากถ้าพวกเราไม่ทำอะไรเลย หรือถ้าเราลงมือทำไม่เร็วพอ และเราต้องเผชิญเรื่องนี้ไปด้วยกัน เพราะเป็นเรื่องใหญ่เกินกว่าประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือกลุ่มประเทศใดกลุ่มหนึ่งจะแก้ไขโดยลำพัง ทางเดียวที่จะทำได้คือ จะต้องมีความร่วมมือระดับโลกที่ทุกๆ ประเทศตกลงช่วยกันลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างจริงจังและปูทางไปสู่อนาคตที่ปริมาณคาร์บอนต่ำและยั่งยืน หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบร้ายแรงที่ผู้คนต้องเผชิญถ้าเราทำไม่ได้ในวันงานเราได้เปิดตัวแผนที่ของกรมอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักรจัดทำขึ้นเพื่อสำรวจผลกระทบต่อมนุษย์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศแผนที่นี้จะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศไปจนถึงสิ้นศตวรรษนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพยากรน้ำ ความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วม การผลิตพืชผลการเกษตร จำนวนปลาในน้ำและด้านอื่นๆ แผนที่นี้เตือนพวกเราให้เห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นถ้าเราไม่ลงมือทำอะไรเลย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความท้าทายอีกประการก็คือ ประชากรที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้ความต้องการอาหารและพลังงานเพิ่มขึ้นไปด้วย ผลกระทบบางข้อก็เริ่มเห็นแล้วในขณะนี้ ผมอยู่ที่ประเทศไทยเมื่อน้ำท่วมใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ตอนนั้นผมยังไม่ใช่ทูตอังกฤษแต่เป็นนักเรียนอยู่ เรียนภาษาและวัฒนธรรมไทยอยู่ที่กรุงเทพฯ และขอนแก่น ผมจำได้ดีว่าน้ำท่วมทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินมากมาย ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของผู้คนและเศรษฐกิจของประเทศ ผมจำได้ว่าตอนนั้นน้ำดื่มและอาหารขาดแคลนมีคนนับแสนต้องย้ายออกจากบ้านของตนเอง ผมยังจำได้อีกว่า สมัยผมเป็นทูตที่เวียดนาม เกิดพายุหนัก และไต้ฝุ่นก่อความเสียหายมากมาย นี่คือภาพที่ค่อยๆ คุ้นตามากขึ้นอย่างน่าเศร้าใจทั่วโลก และมันจะเกิดขึ้นอีกซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำลายทรัพย์สินและความปลอดภัย ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเราจะต้องแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เราต้องลงมือเดี๋ยวนี้ และเราต้องทำไปด้วยกันครับ

Read more on Global Joint Action Day on Climate Change – ความร่วมมือระดับโลกด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ | Reply

About Mark Kent

Mark Kent graduated in Law from the University of Oxford. He gained a Master’s degree in European Law and Economics from the Université Libre de Bruxelles in Belgium, and has…

Mark Kent graduated in Law from the University of Oxford. He gained a
Master’s degree in European Law and Economics from the Université Libre
de Bruxelles in Belgium, and has a postgraduate qualification in
Business Administration from the Open University. He has studied Thai at
Chiang Mai University, Khon Kaen University and Chulalongkorn
University.

Mark Kent joined the FCO in 1987 and has spent most of his career
working with the emerging powers of South East Asia and Latin America,
and with the European Union. He is a Fellow of the Institute of
Leadership and Management and has language qualifications in Thai,
Vietnamese, Spanish, Dutch, French and Portuguese.

Mark Kent took up his appointment in August 2012.